ถึงแม้ระบบการเงินอิสลามไม่ได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในสมัยท่านบรมศาสดานบีมูฮัมหมัด (ซล.) แต่องค์กรหนึ่งที่ถือกำเนิดขึ้น และเป็นต้นแบบของสถาบันการเงินอิสลามในปัจจุบันก็คือ บัยตุลมาล โดยผู้ก่อตั้งเป็นคนแรกคือ ท่านบรมศาสดานนบีมูฮัมหมัด(ซล)

บัยตุลมาล คือ กองคลังสาธารณะประโยชน์ที่มีหน้าที่เป็นกองคลังเก็บทรัพย์สินและบริหารจัดการเพื่อประโยชน์ของสังคม รายได้ของบัยตุลมาลประกอบด้วยซะกาตหรือภาษีต่างๆ เช่น ซะกาตที่ดิน ซะกาตการค้า ซะกาตปศุสัตว์ การรับบริจาค และเงินฝากอามานะฮฺ เป็นต้น 

บัยตุลมาล มีหน้าที่สร้างคุณประโยชน์และใช้จ่ายเพื่อให้เกิดความสมดุลของสังคมโดยรวม

บัยตุลมาล มีบริการอะไรบ้าง
1. มุฎอรอบะฮฺ บัญชีหุ้นเพื่อการลงทุนและสินเชื่อ 
2. วาดีอะฮฺ บัญชีรักษาทรัพย์ 
3. บัญชีออมทรัพย์ยุวชน 
4. ริสกี 10%   
5. วงเงินให้ยืมฉุกเฉิน 
6. สินเชื่อปกติ 
8. ซะกาต  
9. ศอดาเกาะฮฺ 

อายัตอัลกรุอ่าน

“ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงอย่ากินทรัพย์ของพวกเจ้าในระหว่างพวกเจ้าโดยมิชอบ นอกจากมันจะเป็นการค้าที่เกิดจากความพอใจของทั้งสองฝ่าย…” (อัล – นิสาอ์ 4:29)

                              บัยตุลมาล ฐานเศรษฐกิจ

                            ชีวิตมั่นคง สังคมสมดุล